Responsive image

Sunday, 25 May 2025

Tags ที่คล้ายกัน "พญ. สุวรา โสมะบุตร์"
...

24 May 2025

Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

SME D Bank เผยผลตรวจสุขภาพธุรกิจผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านระบบ Business Health Check ในแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   พบจุดอ่อนสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบริหารการเงิน  ด้านจัดการนวัตกรรม-เทคโนโลยี และด้านการตลาด  ประกาศเดินหน้าช่วย “เติมความรู้คู่เงินทุน” เสริมศักยภาพให้เข้มแข็ง ปิดจุดอ่อน สามารถก้าวผ่านอุปสรรคได้ในทุกสถานการณ์   นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า จากที่ SME D Bank มีบริการ “ตรวจสุขภาพทางธุรกิจ” หรือ “Business Health Check”  แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านแพลตฟอร์ม DX by SME D Bank (dx.smebank.co.th)  เพื่อให้รับรู้ข้อมูลและเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนในกิจการตัวเอง ก่อนนำไปสู่การเติมทักษะ ปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็งได้ตรงกับความต้องการของแต่ละกิจการ  ทั้งนี้  ระยะเวลาประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้ารับบริการตรวจสุขภาพทางธุรกิจ รวมกว่า 9,200 กิจการ  พบทักษะ 3 ด้านที่เป็นจุดอ่อนสำคัญ ได้แก่  อันดับ 1  ด้านการบริหารจัดการเงิน  ระดับคะแนนประเมินผลอยู่ที่ 1.8 จากคะแนนเต็ม 5 ตามด้วย อันดับ 2  ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี (2.6 คะแนน) และอันดับ 3 ด้านการสื่อสารการตลาด (3.6 คะแนน) โดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในทุกขนาดธุรกิจ ล้วนมีจุดอ่อนใน 3 ด้านนี้เหมือนกัน แตกต่างกันในรายละเอียดและความซับซ้อนในทักษะที่ต้องพัฒนา   สำหรับด้านการบริหารจัดการเงิน กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย (Micro) มีคะแนนต่ำที่สุด ส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความสำคัญของการทำบัญชี ไม่แยกเงินส่วนตัวกับธุรกิจ ไม่เข้าใจหลักการบัญชีเบื้องต้น ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการคำนวณกำไรขาดทุน รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงแหล่งทุน  ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็ก (Small) มีการบันทึกข้อมูลทางการเงิน แต่ขาดเครื่องมือหรือการลงทุนในระบบบัญชีที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงขาดการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อวางแผนระยะยาว ขณะที่ ผู้ประกอบการขนาดกลาง (Medium) ต้องการทักษะการวิเคราะห์ทางการเงินที่ซับซ้อนขึ้น และในหลายกิจการขาดการบูรณาการข้อมูล ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผู้ประกอบการรายย่อย ไม่รู้ว่ามีเทคโนโลยีอะไรที่ช่วยธุรกิจเล็กๆ ได้บ้าง และยังไม่สามารถเชื่อมโยงการใช้เทคโนโลยีด้านการตลาดได้อย่างเต็มศักยภาพ ส่วนผู้ประกอบการขนาดเล็ก ไม่รู้ว่าเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมรูปแบบใดเหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง และไม่มีแผนหรือนโยบายที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายของธุรกิจ รวมถึงไม่กล้ารับความเสี่ยงที่จะล้มเหลวจากการลงทุนในนวัตกรรม  สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลาง ไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมนวัตกรรมได้อย่างแท้จริง ด้านการสื่อสารการตลาด ผู้ประกอบการรายย่อย  ขาดทักษะในการใช้ Social Media ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการตลาด รวมถึงไม่เข้าใจการตลาดพื้นฐาน ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก  ขาดทักษะในการใช้เครื่องมือและการวิเคราะห์ข้อมูลการตลาด ไม่รู้วิธีวัดผลลัพธ์จากการทำการตลาด ทำให้กระทบต่อการวางแผนการตลาดอย่างเป็นระบบ ส่วนผู้ประกอบการขนาดกลาง ขาดการวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดเชิงลึกและการบูรณาการข้อมูลจากทุกช่องทาง ทั้งนี้ ผลการตรวจสุขภาพทางธุรกิจ พบว่า ในภาพรวม ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยมีทักษะที่เข้มแข็ง  2 ด้าน ได้แก่ การบริหารประสิทธิภาพการผลิตหรือบริการ และการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งเป็นศักยภาพที่ควรเสริมให้แกร่งขึ้นในยุคที่ความไม่แน่นอนสูง การบริหารจัดการต้นทุนทำได้ยากขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการประสิทธิภาพตามแนวทางธุรกิจสีเขียว เพื่อให้กำไรสูงสุดภายใต้เงื่อนไขการปล่อยคาร์บอนต่ำสุด   นายพิชิต กล่าวต่อว่า  จากที่เห็นจุดอ่อนสำคัญของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย  SME D Bank ในฐานะสถาบันการเงินของรัฐเดินหน้ายกระดับพัฒนาศักยภาพให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ผ่านบริการ “เติมความรู้คู่เงินทุน” ช่วยเสริมศักยภาพในหลากหลายรูปแบบ เพื่อช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ปิดจุดอ่อนใน 3 ด้านดังกล่าว สำหรับด้านการพัฒนาผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน จัดโครงการพัฒนาทั้งออนไซต์ควบคู่ออนไลน์ เช่น โครงการ “ทุนก็มี ภาษีก็รู้ ก้าวสู่ความยั่งยืน” จับมือกรมสรรพากร   ให้ความรู้ด้านการเงิน ในรูปแบบ One Stop Service ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โครงการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยี โครงการสนับสนุนด้านการตลาด เช่น สอนการสร้างคอนเทนต์ด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ กิจการ SME D Market รวมถึง Business Matching ช่วยเพิ่มรายได้ขยายตลาด เป็นต้น อีกทั้ง มีบริการแพลตฟอร์ม DX by SME D Bank (dx.smebank.co.th) ช่วยเพิ่มศักยภาพธุรกิจครบวงจร ใช้บริการได้สะดวกสบาย ตลอด 24 ชม. เช่น  E-Learning รวบรวมหลักสูตรความรู้เพิ่มศักยภาพการประกอบธุรกิจ ทั้งการบริหารจัดการธุรกิจ นวัตกรรม เทคโนโลยี มาตรฐาน การตลาด การเงิน และเตรียมพร้อมเข้าถึงแหล่งเงินทุน  , SME D Coach ที่ปรึกษาและให้คำแนะนำธุรกิจจากโค้ชมืออาชีพ  , E-marketplace ช่วยขยายช่องทางขยายตลาด และเชื่อมโยงจับคู่ธุรกิจ และ Privilege สิทธิประโยชน์เพื่อยกระดับธุรกิจ เป็นต้น ควบคู่กับให้บริการด้านการเงิน ช่วยให้มีสภาพคล่องเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อลงทุน ปรับปรุง ขยายกิจการ  หมุนเวียน หรือลดต้นทุนทางการเงิน เป็นต้น  จุดเด่นอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3%ต่อปี  คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน  ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถแจ้งความประสงค์ใช้บริการด้านการพัฒนาและการเงินได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น  แพลตฟอร์ม DX by SME D Bank , LINE Official Account : SME Development Bank และเว็บไซต์ www.smebank.co.th  เป็นต้น  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357   

24 May 2025

...

บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) นำโดย นางสาวอรนาฎ นชะพงษ์ (ที่ 4 จากขวา) ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์การตลาดและบริหารจัดการลูกค้า พร้อมด้วยนายแพทย์วิรุณ เกียรติคุณรัตน์ (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บริการการแพทย์ ร่วมงานแถลงข่าว “BDMS Preventive Vaccine” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลในเครือ BDMS กับบริษัทประกันชีวิตชั้นนำในการจัด “โครงการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคในราคาพิเศษ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันอย่างยั่งยืนในกลุ่มผู้ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพ ณ ห้องประชุมเรเดียน โรงแรมเมอวินพิค บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท เมื่อเร็ว ๆ นี้ กรุงเทพประกันชีวิต ใส่ใจและมีเป้าหมายในการสนับสนุนให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงของโรค ภาวะแทรกซ้อน และลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลในระยะยาว จึงเข้าร่วม “โครงการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคในราคาพิเศษ” โดยลูกค้าผู้ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพของกรุงเทพประกันชีวิต สามารถขอรับการบริการฉีดวัคซีนจากโรงพยาบาลเครือบีดีเอ็มเอสได้ในราคาเดียวทั่วประเทศ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบีเอ็นเอช กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท กลุ่มโรงพยาบาลเปาโล โดยวัคซีนที่ให้บริการประกอบด้วย วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์  สำหรับผู้ใหญ่อายุ 15 ปีขึ้นไป             ราคา      500       บาท วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์  สำหรับเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 15 ปี         ราคา      700       บาท วัคซีนงูสวัด (2 เข็ม)                                                                             ราคา  11,500      บาท วัคซีนปอดอักเสบ 1 เข็ม (Prevnar20)                                                 ราคา    3,500      บาท วัคซีนไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์ (2 เข็ม) สำหรับผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป    ราคา    3,900     บาท ทั้งนี้ ราคาดังกล่าวรวมค่าแพทย์ และค่าบริการโรงพยาบาล แต่ไม่รวมค่ายาอื่นๆ และค่ารักษาพยาบาล หรือค่าบริการปรึกษาทางการแพทย์เพิ่มเติม ผู้สนใจสามารถรับบริการได้ที่โรงพยาบาลในเครือ BDMS โดยโทรนัดหมายที่โรงพยาบาลที่ต้องการรับบริการล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน และแสดงหลักฐานกรมธรรมประกันสุขภาพ หรือ บัตรผู้เอาประกันภัยแก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลก่อนรับบริการ โดยมีระยะเวลาการรับสิทธิ์ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2568

16 May 2025

...

  ตามที่รัฐบาลโดย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มอบหมายให้สถาบันการเงินเข้าช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะ กลุ่มผู้ปกครองที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ ทั้งค่าชุดเครื่องแบบนักเรียน หนังสือ อุปกรณ์การเรียน และอื่น ๆ ด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนในระบบ เพื่อเสริมสภาพคล่อง ลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ และส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยได้เข้าถึงการศึกษาอย่างต่อเนื่อง นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารได้ออกมาตรการ “สินเชื่อธนาคารประชาชนต้อนรับเปิดเทอม” ที่ผ่อนเกณฑ์อนุมัติให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น และเป็นการเดินหน้าภารกิจเชิงสังคมในการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม สำหรับผู้ปกครองที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนในการเตรียมความพร้อมแก่บุตรหลานในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำคงที่เพียง 0.60% ต่อเดือน วงเงินกู้ตามความจำเป็นสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาทต่อราย ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 1 ปี (12 งวด) ผ่อนชำระประมาณ 894 บาทต่อเดือน (รวมเงินต้นและดอกเบี้ย) ทั้งนี้ สำหรับผู้มีอาชีพ รายได้ และที่อยู่อาศัยแน่นอน สามารถยื่นขอสินเชื่อโดยไม่ต้องมีหลักประกัน ผ่านแอปพลิเคชัน MyMo หรือติดต่อธนาคารออมสินสาขาเพื่อขอคำแนะนำในการสมัครสินเชื่อ ได้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2568  

08 May 2025

...

SME D Bank ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ดูแลกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีสิทธิ์กว่า 17,200 ราย อย่างใกล้ชิด พาเข้าร่วมแล้ว ณ วันที่ 23 เม.ย. 68 กว่า 7,200 ราย หรือคิดเป็นกว่า 40% จากลูกหนี้ทั้งหมดที่มีสิทธิ์ ประกาศข่าวดี ขยายระยะเวลาสมัครลงทะเบียนสมัครถึงวันที่ 30 มิ.ย. 68 นี้ เพื่อรับประโยชน์ช่วยลดภาระ สร้างโอกาสกลับมาเริ่มต้นธุรกิจอีกครั้ง นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวว่า จากที่รัฐบาล โดยกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย มีนโยบายแก้หนี้ให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อย ผ่านโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ซึ่ง SME D Bank ขานรับนโยบายเข้าร่วมโครงการ ด้วยการเปิดให้ลูกหนี้ของธนาคารที่เข้าเกณฑ์จำนวนกว่า  17,200 ราย มูลหนี้ประมาณ  16,800  ล้านบาท   ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่านเว็บไซต์ของธนาคาร (www.smebank.co.th)   รวมถึง ทำงานเชิงรุกด้วยการส่งจดหมายแนะนำโครงการไปถึงลูกหนี้ทุกรายที่มีสิทธิ์ ควบคู่กับให้ทีมงานธนาคารติดต่อลูกหนี้ทุกรายที่มีสิทธิ์ เพื่อให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด แนะนำถึงประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการ อีกทั้งเปิด Call Center สายพิเศษ รองรับให้บริการในโครงการนี้โดยเฉพาะผ่านเลขหมาย 1357 กด 99 ทั้งนี้  นับตั้งแต่เปิดลงทะเบียนเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 จนถึงวันที่ 23 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา มีลูกหนี้ลงทะเบียนเข้าโครงการแล้วกว่า 7,200 ราย หรือคิดเป็นกว่า 40% ของลูกหนี้ทั้งหมดของธนาคารที่มีสิทธิ์ ผ่านเกณฑ์โครงการกว่า 4,650 ราย  แยกตามประเภทอุตสาหกรรม  ภาคการค้า ประมาณ 38% ภาคบริการ ประมาณ 34% และภาคการผลิต ประมาณ 28%  โดยเป็นสัดส่วนกลุ่มธุรกิจที่ผ่านมาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์” และทำสัญญาแล้ว จำนวนกว่า 2,900 ราย มูลหนี้กว่า 3,800 ล้านบาท   สำหรับกลุ่มที่ลงทะเบียนแบ่งเป็นกลุ่ม Lower SE (รายได้เกิน 1.8 ถึง 15  ล้านบาทต่อปี) จำนวน 58%  กลุ่ม Micro (รายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี)  จำนวน 24%  กลุ่ม Upper SE (รายได้เกิน 15 ถึง 100  ล้านบาทต่อปี) จำนวน  16% และกลุ่ม ME (รายได้เกิน  100  ล้านบาทต่อปี) จำนวน 2%  เมื่อรวมกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นรายเล็กกับรายย่อย ( Lower SE , Micro ) จำนวนรวมถึงกว่า 82% สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการรายเล็กของไทยมีศักยภาพเปราะบาง ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด  นอกจากนั้น ธนาคารยังช่วยเหลือด้านการพัฒนา เน้นการเพิ่มรายได้ขยายตลาด เช่น เชิญร่วมโครงการ  “SME D Market”  ซึ่งธนาคารจัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน เปิดโอกาสให้มาออกบูธจำหน่ายสินค้า  ณ  สำนักงานใหญ่ SME D Bank โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เชิญร่วมกิจกรรมคาราวานสินค้า สร้างโอกาสทางการตลาด และจับคู่ธุรกิจ  นอกจากนั้น เชิญร่วมโครงการไลฟ์คอมเมิร์ซ เวิร์คช้อปการทำตลาดยุคดิจิทัล พร้อมโอกาสเพิ่มรายได้ด้วยการให้คนดังบนโลกออนไลน์ช่วยบอกต่อ เป็นต้น   ทั้งนี้ จากที่โครงการดังกล่าว ได้ขยายเวลาลงทะเบียนออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน  2568  นับเป็นโอกาสดีที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงประโยชน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือลดค่างวดชำระ  3 ปี  เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่อง โดยปีแรกชำระเพียง 50% เท่านั้น    โดยค่างวดที่ชำระนำไปตัดเงินต้นทั้งหมด อีกทั้ง ไม่เก็บดอกเบี้ย  3 ปี  เมื่อทำตามเงื่อนไข และหากชำระค่างวดมากกว่าขั้นต่ำ ตัดเงินต้นเพิ่ม ปิดหนี้จบได้อย่างรวดเร็ว   จึงขอเชิญชวนลูกหนี้ทุกรายที่มีสิทธิ์ รีบแจ้งความประสงค์ เพื่อรับผลประโยชน์ในการช่วยเหลือ  ลดภาระหนี้ และสร้างโอกาสให้กลับมาเริ่มต้นดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง  สามารถแจ้งความประสงค์ผ่านเว็บไซต์ของธนาคาร (www.smebank.co.th)   หรือเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (www.bot.or.th/khunsoo) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357 กด 99   

05 May 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner